Search-form

การบอกเลิกสัญญา หรือผิดสัญญาหมั้น



         สัญญาหมั้น...ไม่เป็นเหตุการณ์บังคับให้ทำการสมรส และไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ต้องอยู่กินร่วมกัน เหมือนหน้าที่ของ สามี-ภริยา หากชายหญิงแม้เป็นคู่หมั้นกันแล้ว ต้องการที่จะล้มเลิกข้อผูกมัดระหว่างกันเอง ก็สามารถทำได้ ส่วน ของหมั้นและสินสอดนั้นจะแบ่งหรือคืนกันอย่างไรก็ได้

          แต่ถ้าการหมั้นนั้นเป็นผู้เยาว์ทำการหมั้นกันเอง โดยไม่ได้รับความยินยอม และมีการบอกล้างสัญญาหมั้น สิ้นสุดเพราะความตายของคู่หมั้นก่อนสมรส ฝ่ายที่มีชีวิตอยู่จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ กรณีชายหญิงคู่หมั้นตาย พร้อมกัน เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศเครื่องบินตกทั้งคู่เสียชีวิตพร้อมกัน ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย

           การหมั้นที่เกิดจากการข่มขู่ กลฉ้อฉล หรือสำคัญตัวผิด คู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ โดยถือว่ามี "เหตุสำคัญ" ฝ่ายที่ถูกบอกเลิกจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ แตกต่างจากากรผิดสัญญาหมั้น ซึ่งฝ่ายผิด ต้องรับผิด ชดใช้ค่าทดแทนตามที่กฎหมายกำหนดไว้

           ซึ่งคำว่า "เหตุสำคัญ" หมายถึง เหตุอันจะมีผลให้การใช้ชีวิตสมรสร่วมกันดำเนินไปอย่างไม่สงบสุข เช่น เป็นโรคติดต่อร้ายแรง สภาพแห่งกายไม่สามารถให้กำเนิดบุตร เสียโฉม หรือผิดตัว เป็นต้น

            หากฝ่ายชายบอกเลิกสัญญาหมั้น หญิงต้องคืนของหมั้น แต่ถ้าหญิงเป็นฝ่ายบอกเลิก หญิงไม่ต้องคืนของ หมั้นให้แก่ชาย การบอกเลิกเพียงฝ่ายเดียวในกรณีไม่มีเหตุสำคัญย่อมไม่มีผล แต่เมื่อการบอกเลิกสัญญาหมั้น เป็นผลแล้ว จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้

          การผิดสัญญาหมั้น หมายถึง การทำผิดต่อคู่หมั้นโดยไม่มีเหตุอันควร

           อย่างฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น โดยไปทำการหมั้นหรือทำการสมรสกับชายอื่น ฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้น โดยมอบของหมั้นให้บ้างแล้ว และสัญญาว่าจะนำของหมั้นที่ยังขาดมามอบให้อีก ถ้าไม่นำมามอบให้ตามที่ตกลง จะถือว่าฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้นก็ได้ หรือการที่ฝ่ายชายไปทำการหมั้นหรือทำการสมรสกับหญิงอื่น หรือทั้งฝ่าย ชายและฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น โดยทั้งคู่ไม่สมัครใจทำการสมรสกัน หรือคู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้กระทำชั่ว อย่างร้ายแรงหลังการหมั้น เช่น ไปร่วมประเวณีกับคนอื่นเป็นประจำ กรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น ฝ่าย ชายสามารถเรียกของหมั้นคืนได้ นอกเหนือจากการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าทดแทน

          ในการชดใช้ค่าทดแทนนั้น กฎหมายระบุให้เรียกร้องได้ เพื่อทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการใช้จ่ายหรือตกเป็นลูกหนี้ ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวกับอาชีพ หรือการทำมาหาได้ ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เช่น ลาออกจากงานเพื่อมาดูแลครอบครัว

           การผิดสัญญาหมั้นนั้น มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันผิดสัญญาหมั้น สิทธิเรียกร้องคำทดแทนมีอายุความ นาน 6 เดือน ส่วนการเรียกร้องของหมั้นหรือสินสอด คือมีความอายุความนาน 10 ปี
ที่มา i DO

0 comments:

Post a Comment

Facebook Twitter Delicious Digg Stumbleupon Favorites More