Search-form

วันและเวลาในการออกรถ

วันออกรถควรเป็นวันไหน?

ไม่ซื้อรถวันอาทิตย์ 
โบราณท่านว่า ใครซื้อรถในวันอาทิตย์ จะทำให้มีเรื่องร้อนใจหรือต้องเดือดร้อนมาก ท่านแนะนำว่า ให้รีบขายไปเสียเพราะการซื้อรถหรือยานพาหนะในวันอาทิตย์มักเกิดเรื่องไม่ดีเลย

ควรซื้อรถวันจันทร์ 
ตามตำราท่านว่า ใครซื้อรถวันจันทร์มักโชคดีได้ลาภอยู่เสมอ ทำธุรกิจหรือค้าขายมีกำไรมากบางครั้งมีลาภลอยมาหาอย่างนึกไม่ถึง

ไม่ซื้อรถวันอังคาร 
ในตำราโหราศาสตร์กล่าวไว้ว่า ใครที่ซื้อรถหรือยานพาหนะในวันอังคารมักจะมีเรื่องเดือดร้อน ทำให้เป็นทุกข์มีปัญหาทำให้เสียเงินทอง บางรายประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรง ก็ปรากฏให้เห็นบ่อย

ไม่ซื้อรถวันพุธ 
เป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายว่า ใครที่ซื้อรถวันพุธมักจะมีปัญหาต่าง ๆ จนต้องเป็นหนี้สินเขาตลอดด้วยเหตุ นี้เองท่านจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการซื้อรถหรือจองรถในวันพุธ

ไม่ซื้อรถวันพฤหัสบดี 
โบราณท่านว่า ใครที่ซื้อรถหรือยานพาหนะในวันครูจะทำให้ธุรกิจ หรือการค้าขายเกิดมีปัญหา มีอุปสรรคไม่คล่องตัวอย่างแต่ก่อน และที่สำคัญอาจเกิดเรื่องไม่สบายใจ คือ สามีหรือภรรยาจะมีชู้

ควรซื้อรถวันศุกร์ 
ตามตำราโหราศาสตร์ไทยท่านว่า ใครที่ซื้อรถหรือยานพาหนะในวันศุกร์ มักมีโชค มีลาภอยู่เสมอ ทำการอะไรก็สะดวกอย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะ จะมีลาภและยศกำลังรอท่านอยู่

ไม่ซื้อรถวันเสาร์ 
ตามตำราโหราศาสตร์ไทยท่านว่า ใครที่ซื้อรถวันเสาร์ ถือเป็นเรื่องร้ายแรงมาก เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุถึงกับชีวิตได้ด้วยเหตุนี้ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมันก่อน จึงมักห้ามลูกหลานไม่ให้ซื้อรถและเรือในวันนี้เพาะความเชื่อดังกล่าว

ไม่ซื้อรถวันพระ 
เป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรัษ ไม่ให้ซื้อรถซื้อเรือในวันพระ เพราะอาจจะทำให้ไม่สบายหรือล้มป่วยได้ ศัตรูหรือคู่แข่งจะพากันอิจฉาและอาฆาต

ทั้งหมดนี้ สามารถสรุปได้ว่า วันที่ควรซื้อรถหรือยานพาหนะมี 2 วันคือ วันจันทร์ และ วันศุกร์ เท่านั้น นอกนั้นไม่ควรเสี่ยงไปซื้อรถหรือจองรถ เพราะทำให้ท่านยุ่งยากไปเปล่า ๆ บางครั้งถึงกับเสียทรัพย์สิน และบางรายประสบอุบัติ อย่างไม่น่าควรเป็น สำหรับท่านที่เกิด วันอาทิตย์ วันที่ควรซื้อรถหรือจองรถมีเพียงวันเดียว คือวันจันทร์ (ส่วนวันศุกร์นั้นเป็นวันกาลกิณี ของคนที่เกิดวันอาทิตย์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ย่อมไร้ผลให้หลีกเลี่ยงเสีย)  ส่วนคนที่เกิด วันอังคาร วันที่ควรซื้อรถหรือจองรถมีเพียงวันเดียว คือ วันศุกร์ (ส่วนวันจันทร์นั้นเป็นวันกาลกิณี ของคนที่เกิดวันอังคาร ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ย่อมไร้ผลให้หลีกเลี่ยงเสีย)

เวลาในการออกรถ

การพิจารณาหาวันที่ดีและเหมาะสมนั้น(วันมงคล) ก็คือ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันกาลกิณีกับวันเกิดของเจ้าของรถอย่างเด็ดขาด ซึ่งมีหลักพิจารณา ดังนี้
คนเกิดวันอาทิตย์ห้ามใช้ฤกษ์วันศุกร์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง 
คนเกิดวันจันทร์ห้ามใช้ฤกษ์วันอาทิตย์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง 
คนเกิดวันอังคารห้ามใช้ฤกษ์วันจันทร์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง
คนเกิดวันพุธ(กลางวัน)ห้ามใช้ฤกษ์วันอังคาร ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง 
คนเกิดวันพุธ(กลางคืน)ห้ามใช้ฤกษ์วันพฤหัสบดี ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง 
คนเกิดวันพฤหัสบดีห้ามใช้ฤกษ์วันเสาร์ ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง 
คนเกิดวันศุกร์ห้ามใช้ฤกษ์วันพุธ(กลางคืน) ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง 
คนเกิดวันเสาร์ห้ามใช้ฤกษ์วันพุธ(กลางวัน) ต่อให้ฤกษ์ดีอย่างไรก็ไร้ผล ควรหลีกเลี่ยง
เวลาที่ควรนำรถออกจากโชว์รูมหรือเต้นซ์ ในแต่ละวันมีดังนี้ 
วันอาทิตย์ควรนำรถออกเวลา 06.09-08.39 น. (ฤกษ์ดีมาก)
และอีกช่วงหนึ่งเวลา 13.39-15.09 น. (ให้โชคลาภ) 
วันจันทร์ควรนำรถออกเวลา 09.19-10.05 น. (ฤกษ์ดี)
และอีกช่วงหนึ่งเวลา 16.19-17.59 น. (ให้ลาภและมีเสน่ห์) 
วันอังคารควรนำรถออกเวลา 11.09-12.59 น. (ฤกษ์ใช้ได้)
และอีกช่วงหนึ่งเวลา 06.39-08-29 น. (ช่วงเวลานี้พอใช้ได้) 
วันพุธควรนำรถออกเวลา 08.49-10.59 น. (ฤกษ์ปานกลาง)
และอีกช่วงหนึ่งเวลา 13.09-15.29 น. (มีโอกาสได้ลาภ) 
วันพฤหัสบดีควรนำรถออกเวลา 10.39-11.09 น. (มีโชคลาภ)
และอีกช่วงหนึ่งเวลา 17.09-17.59 น. (ฤกษ์ปลอดภัย) 
วันศุกร์ควรนำรถออกเวลา 06.39-08.59 น. (ฤกษ์ดีมาก)
และอีกช่วงหนึ่งเวลา 13.39-14.59 น. (ให้โชคลาภ) 
วันเสาร์ตามหลกโหราศาสตร์ ถือเป็นวันดุ หรือวันแรงโบราณ ท่านว่าห้ามนำรถ
หรือยานพาหนะออกจากเต้นท์ หรือจากอู่อย่างเด็ดขาด ควรหลีกเลี่ยง

รายละเอียดข้างต้นเป็นกฏเกณฑ์แต่โบราณ ถ้ายึดถือได้ไม่ยุ่งยากเกินไปก็ให้ทำ หรืออีกแนวทางนึงที่ผมเองยึดถือและใช้บ่อย เพราะถือว่าจะดี จะร้ายดวงคน หรือกรรมสำคัญกว่า ตรงนี้เสริมเพื่อความเป็นมงคลและเป็นกำลังใจที่ดี ขอเขียนเป็นรายการหลักๆ ดังนี้

เลือกสีรถ เลี่ยงสีภูมิกาลกิณี อย่างเดียว สีที่เหลือใช้ได้หมด

วันออกรถ ดูตามปฏิทิน (ลิงค์ด้านบน) เลือกดูทั้งหมด หรือ ดูวันที่เป็น ดิถีมหาโชค วันกาลโยค วันลอย วันฟู และให้หลีกเลี่ยง วันแรงๆ เช่น กระทิงวัน (วันเดือนปี ค่ำ เป็นเลขเดียวกัน อย่างน้อย ๒ เงื่อนไข เช่น วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปี ขาล(๓)) , วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันพุธ การเลือกแบบนี้เป็นแบบเดียวกับดูฤกษ์วันดี วันแต่งงาน หรือวันมงคลปรกติ แต่มีเงื่อนไขต่างกัีนบ้าง (โบราณการใช้ฤกษ์บน เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน มักใช้ในการสำคัญๆ เท่านั้น จึงมักใช้ดิถีจันทร์เป็นส่วนใหญ่์ เพราะดูค่ำแรม สะดวกกว่า)

ดูเวลาดี เมื่อได้วันดีแล้วก็ดูเวลาดี จะยึดถือตาม ยามอุบากอง ก็ได้ เพราะสะดวกดูง่าย

ดูทิศทางที่ดี ในที่นี้หมายถึง หลีกเลี่ยง ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก ของวันนั้น ๆ ก่อนออกให้รถตั้งตรงไปทาง ทิศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ทิศ ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก ในวันนั้นๆก่อน มักเลือกทิศเหนือ และตะวันออก แล้วค่อยขับรถออก หรือขัึบเลี่ยงไปก่อนค่อยไปยังทางออก การดู ทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก แบบนี้โบราณใช่เช่นเดียวกันกับ การตั้งขบวนขันหมาก การออกจากวัดหลังลาสิกขาบท หรืออื่นๆ

ขอบคุณ myhora

0 comments:

Post a Comment

Facebook Twitter Delicious Digg Stumbleupon Favorites More