
คุณสาวๆ เป็นกันบ้างมั้ยคะอาการนี้…สมองไม่แล่น คิดงานไม่ออก เพราะนอนไม่เต็มที่ แต่จะทำยังไงดีล่ะ…
…….
ผลวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นบอกว่า “การงีบหลับ“ ในตอนกลางวันอย่างที่ วินสตัน เชอร์ชิล , อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ชอบทำนั้น ไม่เพียงทำให้สมองแจ่มใสเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มีปัญญาฉลาดหลักแหลมขึ้นด้วย

…….
นักวิจัยพบว่า “การงีบหลับวันละ 1 ชั่วโมงช่วยให้สมองสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดีขึ้นในช่วงวันที่เหลือ” โดย ดร.แมทธิว วอล์กเกอร์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ผู้ทำวิจัย บอกว่า การนอนหลับช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการงีบหลับ

หลายคนเห็นเป็นเรื่องน่าขันที่บางคนงีบหลับหลังมื้อเที่ยง แต่คนที่มีชื่อเสียงหลายคนต่างเป็นนักงีบกันทั้งนั้น…
…. . เลดี้ แธตเชอร์ บอกว่า เธอนอนหลับตอนกลางคืนแค่ 4 ชั่วโมง แต่อาศัยงีบหลับช่วงสั้นๆ ในตอนกลางวัน
….. บิล คลินตัน มักงีบ 30 นาทีหลังมื้อกลางวัน
และอีกหลายคน เช่น จอห์น เอฟ. เคเนดี, โรนัลด์ เรแกน และฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ล้วนทำแบบเดียวกัน
…….
นักวิจัยด้านการนอนหลายรายบอกว่า นิสัยของชาวอังกฤษ ซึ่งพยายามตื่นอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เช้าถึงค่ำ เป็นเรื่องไม่ดีต่อสุขภาพ ขณะที่ชาวสเปนขึ้นชื่อว่า เป็นนักงีบหลังมื้อกลางวันตัวยง

…….
ในงานวิจัยดังกล่าว นักวิจัยได้ให้นักศึกษาที่มีสุขภาพดี 39 คนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วขอให้ทดลองทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ เช่น จับคู่ชื่อกับภาพใบหน้า เพื่อศึกษาสมอง ส่วนฮิปโอแคมปัส ซึ่งทำหน้าที่บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ในตอนบ่ายสอง กลุ่มหนึ่งเข้านอนเป็นเวลา 90 นาที อีกกลุ่มให้รู้สึกตัวตื่นอยู่ตลอด พอถึง 6 โมงเย็น นักวิจัยขอให้เด็กทั้งสองกลุ่ม ทดสอบสมรรถภาพในการเรียนรู้อีกครั้งหนึ่ง จากนั้น รายงานผลการทดลองนี้ต่อที่ประชุมของสมาคม เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน ที่เมืองซานดิเอโก แคลิฟอร์เนีย ว่า เด็กกลุ่มที่ได้นอนกลางวันทำคะแนนได้ดีกว่าอีกกลุ่มตั้งเยอะ

…….
คำอธิบายก็คือ การนอนช่วยให้สมองลบข้อมูลที่เป็นความจำระยะสั้นทิ้งไป เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับบันทึกข้อมูลใหม่ ๆ “มันเหมือนกับกล่องอีเมล์ในฮิปโปแคมปัสของคุณมันเต็มแล้ว ถ้าไม่นอนหลับเพื่อลบอีเมล์พวกนั้น คุณก็จะรับอีเมล์ใหม่ ๆ ไม่ได้ “

…….
ด้วยการวัดทางไฟฟ้าที่สมอง นักวิทยาศาสตร์พบว่า กระบวนการปรับความจำใหม่นี้เกิดขึ้น ในช่วงระหว่างการหลับลึกกับช่วงที่เราฝัน ซึ่งเรียกว่า อาร์อีเอ็ม หรือ rapid eye movement คนทั่วไปใช้เวลาครึ่งหนึ่งของการนอนหลับไปกับการนอนช่วงนี้ ซึ่งเรียกว่า ช่วงการนอนขั้นที่สอง งานวิจัยนี้ยังพบด้วยว่า เด็กที่ใช้เวลาตลอดทั้งคืนอ่านหนังสือเตรียมสอบ มีความสามารถในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ ลดลงถึง 40%

0 comments:
Post a Comment