บุตรของท่านมีปัญหาต่อไปนี้หรือไม่
• ตัวเล็กมาตลอดเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน
• เติบโตช้ามาก ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นไม่ถึง 4 ซม. ต่อปี
• เพื่อนรุ่นเดียวบางคนที่เตี้ยกว่าหรือสูงพอๆ กัน ตอนนี้สูงกว่า
• ตัวเล็กมากทั้งที่บิดามารดาสูง
• เติบโตช้ามาก ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นไม่ถึง 4 ซม. ต่อปี
• เพื่อนรุ่นเดียวบางคนที่เตี้ยกว่าหรือสูงพอๆ กัน ตอนนี้สูงกว่า
• ตัวเล็กมากทั้งที่บิดามารดาสูง
"หากมี ควรรีบปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กมีอาการซึมเศร้า โดนเพื่อนแกล้ง หรือการเรียนแย่ลง เนื่องจากโรคเตี้ยบางสาเหตุมีทางแก้ไขได้หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ"
การเจริญเติบโตในเด็กผิดปกติจะถูกกำหนดโดยพันธุกรรม
แม้การเจริญเติบโตของคนจะเป็นไปตามพันธุกรรมก็ตาม แต่การที่เด็กจะมีการเจริญเติบโตที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆดังต่อไปนี้ มีภาวะโภชนาการดีและเหมาะสม มีสุขภาพทางจิตใจและอารมณ์ดี ปริมาณฮอร์โมนปกติ
และสามารถออกฤทธิ์ได้ปกติไม่มีโรคเรื้อรังทางกายอื่นๆ มีการออกกำลังกายและ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ และประการสุดท้ายไม่มีความผิดปกติที่จะส่งผลทำให้มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ของกระดูก เช่น ยาหรือสารเคมีจากภายนอก
จะทราบอย่างไรว่าเด็กตัวเตี้ยกว่าเกณฑ์หรือเติบโตช้าผิดปกติ
การประเมินการเจริญเติบโตว่าปกติหรือไม่ ทำได้โดยการเอาส่วนสูงของเด็กจุดลงบนกราฟมาตรฐานน้ำหนัก และส่วนสูงของเด็กไทยที่อายุและเพศเดียวกัน และพบว่าต่ำกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 3 ก็ถือว่าเตี้ย และติดตาม อย่างต่อเนื่องเพื่อดูลักษณะกราฟการเจริญเติบโต กรณีที่ส่วนสูงไม่ต่ำกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 3
แต่หากพบว่า มีการเบี่ยงเบนจากเปอร์เซนต์ไทล์เดิมไปในทิศทางที่ต่ำลงก็ถือว่าผิดปกติเช่นกัน แต่ทั้งสองวิธีต้องมีกราฟ มาตรฐาน อีกวิธีที่สะดวกคือดูอัตรการเจริญเติบโตในระยะที่ผ่านมา เด็กวัยเรียนอายุ 4-9 ปีจะเติบโตประมาณ 5 ซม.ต่อปี
ซึ่งสามารถหาดูได้จากสมุดพกนักเรียน เด็กที่สงสัยว่าจะมีการเจริญเติบโตผิดปกติควรได้รับการ ตรวจ วินิจฉัยโดยแพทย์แต่เนิ่นๆ เนื่องจากบางภาวะสามารถให้รักษาได้และได้ผลดีกว่าหากรักษาตั้งแต่อายุ น้อยๆ ไม่ ควรรอจนอายุมาก หรือจนมีลักษณะเป็นหนุ่มสาวจึงค่อยมาพบแพทย์เพราะทำให้การรักษาไม่ได้ ผลดีเท่าที่ควร หรือไม่ได้เลย
ข้อมูลที่ควรนำไปด้วยเมื่อพบแพทย์
ส่วนสูงที่เคยวัดไว้ในสมุดพกนักเรียน นอกจากนี้ควรมีส่วนสูงบิดา-มารดา ผู้ที่นำเด็กไปพบแพทย์ควรเป็น บิดา-มารดาหรือคนใดคนหนึ่ง เพราะแพทย์จะซักรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยและประวัติอดีตของ เด็กด้วย หากแพทย์พบว่าเด็กเตี้ยหรือเติบโตช้าจริง
แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อแยก สาเหตุทางกายอื่นๆที่ชัดเจนออกไป หากพบว่ามีข้อบ่งชี้หรือสงสัยว่าจะมีความผิดปกติทางฮอร์โมน แพทย์ จะนัดตรวจทางห้องปฎิบัติการต่อมไร้ท่ออีกครั้งหนึ่ง
ฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตหลังคลอด
ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหลังคลอด ได้แก่ อินซูลิน ฮอร์โมนเติบโต ธัยรอยด์ฮอร์โมน และฮอร์ โมนเพศ ฮอร์โมนที่พบบ่อยถ้าขาดและทำให้การเจริญเติบโตช้า
ได้แก่ ฮอร์โมนเติบโต ธัยรอยด์ฮอร์โมน "เด็กเตี้ยที่มีสาเหตุจากขาดฮอร์โมนเติบโตและธัยรอยด์ฮอร์โมนสามารถรักษาได้ผลดีหากตรวจพบ และ รักษาแต่เนิ่นๆ
การตรวจความผิดปกติที่เกิดจากการขาดธัยรอยด์ฮอร์โมน
ทำได้ง่ายเพียงเจาะเลือดตรวจหาระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนเพียงครั้งเดียว หากพบว่าขาดจริงการรักษาทำโดย การให้ฮอร์โทนทดแทนทางปาก
การตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเติบโต
การตรวจหาระดับฮอร์โมนเติบโตแตกต่างไปจากการเจาะเลือดโดยทั่วๆไป จำเป็นต้องให้ยากินหรือฉีดยา กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเติบโตก่อน ดังนั้นคนไข้ต้องงดอาหารก่อนวันทดสอบ
ระหว่างการทดสอบคนไข้ จะอยู่ภายใต้การดูแลของพยาบาล และแพทย์โดยใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าผลการทดสอบสามารถแปลผลได้ แม่นยำ คนไข้บางรายอาจต้องทำการทดสอบ 2 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าคนไข้ขาดฮอร์โมนนี้จริงๆ
การรักษาคนไข้ที่ขาดฮอร์โมนเติบโต ทำโดยการฉีดฮอร์โมนเติบโตเข้าใต้ผิวหนัง
คนไข้ที่จะตอบสนองดีต่อการให้การรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเติบโต คือคนไข้ที่ขาดฮอร์โมนเติบโตจริงๆ หากขาดมากจะตอบสนองดีกว่ารายที่ขาดไม่มาก ดังนั้นก่อนให้ฮอร์โมนเติบโตจึงจำเป็นต้องทำการทดสอบ ทุกราย
ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษา
การรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนเติบโตจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับอายุที่เริ่มให้การรักษา ความรุนแรงของการ ขาดฮอร์โมน ขนาดของฮอร์โมนที่ให้ วิธีการให้ และระยะเวลาที่ได้รับการรักษา การรักษาจะได้ผลดีหากให้ การรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
โดยสรุปเด็กที่มีปัญหาเติบโตช้าหรือตัวเตี้ย ควรนำเด็กไปพบแพทย์ก่อนที่เด็กจะมีลักษณะเข้าวัยหนุ่มสาว นำส่วนสูงของที่วัดไว้ก่อนหน้านี้ในสมุดวัคซีนและสมุดพกนักเรียนไปด้วย หากไม่มีสมุดวัคซีนหรือสมุดพก สามารถขอบันทึกการวัดได้จากสถานพยาบาลหรือโรงเรียนโดยตรง
ส่วนสูงของบิดาและมารดา อายุที่เริ่ม เข้าวัยหนุ่มในบิดา(ถ้าหากจำได้) และอายุที่เริ่มมีประจำเดือนในมารดา บิดาและหรือมารดาควรไปกับเด็ก ด้วยเพื่อให้ประวัติเด็กกับแพทย์ผู้ดูแล เพื่อฟังคำแนะนำและแนวทางในการตรวจรักษา นอกจากนี้เด็กบาง รายอาจต้องการความช่วยเหลือดูแลจากแพทย์ทางจิตเวชเด็กอีกด้วย
Thanks : Sanook.com
0 comments:
Post a Comment