Search-form

ผ้าชีมัคแห่งปาเลสไตน์ : สัญลักษณ์ของความเด็ดเดี่ยว


หากมีโอกาสได้เห็นภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ร่วมเดินขบวนต่อต้านการทำสงครามในอิรัก หลายคนอาจสังเกตเห็นผ้าลายตารางสีขาว-ดำ ที่ถูกพันโพกปกคลุม ศีรษะ และไหล่ของผู้ร่วมเดินขบวนเหล่านั้น ซึ่งได้ปรากฏให้เห็นได้อย่างชินตา ผ้าเหล่านั้นคือ ผ้าชีมัค แห่งปาเลสไตน์ (Palestine kaffiyeh) ซึ่งเป็นอาภรณ์สำหรับโพกพันศีรษะตามวัฒนธรรมของชายชาวปาเลสไตน์บทบาทของผ้าชีมัคในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในปาเลสไตน์จะช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดมันจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของปวงชนผู้ต้อสู้ดิ้นรนอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เพื่อต่อต้าน การรุกรานยึดครองอาณานิคม และ การกดขี่ข่มเหงต่างๆทั่วทั้งโลกในช่วงต้นทศวรรษ ปี 1900 อังกฤษได้ครอบครองประเทศ ต่างๆในอาณานิคม ในเขตตะวันออกกลางอยู่มากมายซึ่งรวมถึงปาเลสไตน์ ด้วยเช่นกัน  ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากได้รวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อต่อสู้กับการรุกรานของอังกฤษด้วยทุกวิถีทางอันแสดงออกซึ่งการต่อต้าน จนกระทั่งอังกฤษตระหนักได้ว่าไม่มีทางที่จะปกครองดินแดนในอาณานิคมแห่งนี้ได้โดยปราศจากการเคลื่อนไหวต่อต้าน ทางการอังกฤษ จึงพยามใช้วิธีเจรจาเพื่อหลอกล่อชาวปาเลสไตน์ โดยสัญญาที่จะมอบเสรีภาพให้กับปาเลสไตน์ขณะที่ในเวลาเดียวกัน อังกฤษก็ปกป้องกลุ่มลัทธิไซออนนิสต์ (Zionist) ชาวยิว ที่ขยายตัวเข้ามา ซึ่งบรรดากลุ่มชาวยิวผู้ถือลัทธิ ไซออนนิสต์ นั้น ส่วนใหญ่อพยพมาจากเขตยุโรปเข้ามาตั้งรกราก และยึดครองดินแดน รวมถึงทรัพยากรต่างๆ จากพลเมืองท้องถิ่นชาวปาเลสไตน์ที่ไร้ซึ่งอาวุธ

ผ้าชีมัค เริ่มเข้ามาเป็นส่วนสำคัญ และแพร่หลายในการเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ และต่อต้านในปาเลสไตน์ ในช่วงทศวรรษ ปี 1930 เมื่อกลุ่มองค์กรติดอาวุธได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เพื่อต่อต้าน การขโมยและยึดครองดินแดนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักสู้เพื่อการต่อต้านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นชาวชนบทที่โพกผ้าชีมัคตามวิถีพื้นเมือง และอาศัยอยู่ในเขตภูเขา หรือหมู่บ้านเล็กๆขณะที่การประดับศีรษะแบบทันสมัยด้วยหมวกเฟซ (Fez – หมวกแขก ทำด้วยผ้าสักลาด มียอดแบน) จะถูกสวมใส่โดย ชาวชุมชนเมือง และผู้อาศัยในเขตตัวเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูกจับกุมโดยทางการอังกฤษ บรรดากลุ่มนักสู้ฝ่ายต่อต้านจึงต้องเข้าไปแฝงตัวในเขตตัวเมือง หรือชุมชนแต่ก็ยังคงพันโพกผ้าชีมัคอยู่ ซึ่งทำให้เป็นที่สังเกตได้ง่าย  ทางการอังกฤษตัดสินใจใช้มาตรการ ที่จะจับกุมทุกคนที่โพกผ้าชีมัคบนศีรษะ เพื่อต้องการกวาดล้างขบวนการต่อต้านให้หมดสิ้นไป แต่ผลตอบรับกลับหาเป็นเช่นนั้นไม่ ... กระแสตอบกลับต่อนโยบายนี้กลับตรงกันข้าม เมื่อ ผู้ชายชาวปาเลสไตน์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวเมือง หรือชาวหมู่บ้าน  ต่างพร้อมใจกันใช้ผ้าชีมัคแบบปาเลสไตน์ท้องถิ่นพันโพกศีรษะรวมถึง หยุดการพกบัตรประจำตัวประชาชน  ทำให้เหล่านักสู้ฝ่ายต่อต้านที่แฝงตัวปะปนอยู่ ไม่สามารถถูกค้นหาเจอการปฏิบัติเช่นนี้อย่างพร้อมเพรียงกันในทุกพื้นที่ของปาเลสไตน์ แสดงออกอย่างชัดเจนถึงการสนับสนุนอย่างท่วมท้น ต่อกลุ่มผู้ต่อต้าน   จวบจนช่วงทศวรรษ ปี1960 ผ้าชีมัคก็ถูกนำกลับมาเป็นสัญลักษณ์แห่งการร่วมต่อต้านอีกครั้ง เมื่อกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายต่อต้านในปาเลสไตน์ ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่ประเทศอิสราเอล เข้ารุกราน และยึดครองดินแดนอย่างมหาศาลในเขตดินแดน เวสต์ แบงก์ (West Bank) และฉนวนกาซา (Gaza) ในปี 1967

ฝ่ายต่อต้านกลายเป็นที่สนใจจากคนทั้งโลก เมื่อ ไลลา คาห์ล  (Leila Khaled) และ สมาชิกฝ่ายซ้ายคนอื่นๆของ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์  ซึ่งเป็นกลุ่มลัทธิการปกครองแบบ มาร์คซิสต์ (Marxist) ได้พันโพกผ้าชีมัค ในการก่อเหตุ จี้เครื่องบินของสายการบินนานาชาติ ถึง 5 สายการบิน ....ปฎิบัติการดังกล่าวส่งผลให้ทั้งโลกหันมาให้ความสนใจ และจับตามองการต่อสู้ดิ้นรนของชาวปาเลสไตน์

เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาของ ท่านผู้นำ เยสเซอร์ อาราฟัต กระแสความนิยมในผ้าชีมัคก็เฟื่องฟูอย่างสูงสุดเขาได้ใช้ผ้าชีมัคนี้ คลุมประดับศีรษะตามรูปแบบดั้งเดิม ของชนชาวปาเลสไตน์ ในตลอดระยะเวลาหลายปี ตั้งแต่เข้าร่วมกลุ่มต่อต้าน จนกระทั่งถึงวันที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ผู้นำแห่งรัฐอิสระปาเลสไตน์ ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่โหดร้าย ที่ชาวปาเลสไตน์ ต้องอดทน กับการถูกรุกราน และขับไล่จากดินแดนของตน การต่อสู้เยี่ยงวีรบุรุษของพวกเขา ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าชาย หรือหญิง ทั้งวัยรุ่น และวัยชราผู้คนจำนวนนับหลายพันคน ต่างเริ่มพันโพก ผ้าชีมัค อย่างภาคภูมิใจในความหมายของมัน ที่เป็นสัญลักษณ์ แห่งการต่อสู้ของชนชาวปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านการรุกราน อย่างเด็ดเดี่ยวและมั่นคง ตลอดมา

หมายเหตุ: บทความ แปล และเรียบเรียงภายใต้การได้รับอนุญาต จากเจ้าของบทความ “Socialism and Liberation magazine”ลิขสิทธิ์ในงานแปล และเรียบเรียง บทความนี้ เป็นของผู้แปล “JENOCiDE / SHEMAGH Mania”

0 comments:

Post a Comment

Facebook Twitter Delicious Digg Stumbleupon Favorites More